เชียงใหม่ตั้งอยู่ประมาณ 700 กิโลเมตรเหนือกรุงเทพมหานครฯ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง เมืองติดอยู่กับแม่น้ำปิง มีพื้นที่ 20,107 km เชียงใหม่ถือว่าเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทยในปี 2562 เชียงใหม่มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน 28% ของประชากรเป็นคนที่มีอายุต่ำกว่าา 25 ปี เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคมาอย่างยาวนานทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากหลากหลายวัฒนธรรม เช่น ไท่หยวน ลื้อ เขิน ฉาน มอญ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ลั๊วะ ในปี 2559 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของเชียงใหม่อยู่ที่ 130,034 บาท
ปัจจุบันเชียงใหม่ ปรับตัวเองจากศูนย์กลางการค้าในอดีตพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และสถาบันวัฒนธรรม และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำต่อนักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย เชียงใหม่มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 7 แห่ง มีพิพิธภัณฑ์มากกว่า 12 แห่ง รวมทั้ง 30 แกลลอรี่ 3 โรงละคร 6 ตลาดงานคราฟท์ 1 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
เชียงใหม่มีชื่อเสียงในด้านงานคราฟท์ในประเทศไทยอย่างมาก และยังเป็นที่ยอมรับเรื่องหัตถกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยเชียงใหม่มีความโดดเด่นในด้าน ของโบราณ เครื่องประดับเงิน งานปัก ผ้าไหมไทย ผ้าฝ้าย เครื่องจักสาน ศิลาดล เครื่องเงิน เครื่องเขิน งานแกะสลักไม้ ร่มกันแดด เป็นต้น เนื่องจากเชียงใหม่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมมรสุมเขตร้อน ทำให้การออกแบบที่พักมักจะเป็นไม้ รวมถึง ภาชนะ ถาด ชาม ที่ครอปทั้งหมดยังถูกออกแบบโดยใช้วัสดุจากไม้เป็นหลัก ทำให้เกิดความสร้างสรรค์และพัฒนาด้านนี้มาอย่างช้านาน
ชุมชนกว่า 159 แห่งทั่วเชียงใหม่มีงานหัตถกรรมวัฒนธรรมและศิลปะพื้นบ้าน อาทิ ชุมชนเครื่องเงินและโลหะย่านวัวลาย ซึ่งพัฒนาเครื่องเงินและศิลปะเป็นเครื่องประดับวัด หมู่บ้านเมืองสาตรหลวง ทำกระดาษสา โคมไฟยี่เป็ง ชุมชนช่างไม้บ้านถวาย ชุมชนทำเครื่องเขินศรีปันครัวและบ้านนันทาราม และชุมชนทอตะกร้าบ้านป่าบง ผ้าทอมือในชุมชนที่ราบสูงและลุ่มทั่วเชียงใหม่ จากอำเภอแม่ริม จอมทอง สันป่าตอง สันกำแพง แม่แจ่ม และฝาง ชุมชนลาหู่ ลีซู และเมี่ยนจำนวนมากผลิตงานปัก ม้งผลิตผ้าป่านทอที่ตกแต่งด้วยลวดลายต้านขี้ผึ้ง รวมถึงเครื่องประดับต่างๆ
เชียงใหม่ได้รับเลือกเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN) สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Craft and Folk Arts) ในปี 2560 และ ได้รับการประกาศให้เป็นสมาชิกเมืองหัตถศิลป์โลก WCC World Craft City เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ทำให้เชียงใหม่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของนานาประเทศ ได้นำเสนอผลงานด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในเวทีโลก
แหล่งท่องเที่ยวด้านงานคราฟท์ในเชียงใหม่ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเช่น
จริงใจ Farmers Market เชียงใหม่ | บ้าน”ข้างวัด” Bannkangwat | โหล่งฮิมคาว | saprang craft jewelry | OUKE Chiangmai เสื้อ ชุดสตรี ผ้าพันคอ พิมพ์ด้วยใบไม้เชียงใหม่ | Greenie & Co | ‘carpenter | Siam Celadon Pottery – Since 1978 | MAIIAM Contemporary Art Museum | Hand-Kraft Café | Nussara | Loolii Studio | Craft & Care | Din Cafe | ChiangMai Art Museum | หัตถกรรมเครื่องเงินบ้านกาด แม่วาง | เครื่องเงินวัวลาย – วัวลาย story | one nimman
แหล่งหาความรู้และพัฒนาคราฟท์เชียงใหม่
TCDC Chiang Mai
เทศกาล
Chiang Mai Crafts Fair | Chiang Mai Design Week | Chiang Mai Crafts Week. | Nimman Soi 1
รางวัลการออกแบบ
CDA Design Awards
ในด้านของตัวเลขทางเศรษฐกิจนั้นมีการคาดการณ์ว่าตลาดสินค้าแฮนด์เมดทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 40 ล้านล้านบาทในปี 2025 โดยในปี 2562 ประเทศไทยของเรานั้นได้ส่งออกสินค้าหัตถศิลป์ไปถึง 3แสนล้านบาท โดยในส่วนของเชียงใหม่คราฟท์ ด้านดิจิทัลนั้น พบว่าใน Etsy มีการวางขายสินค้าคราฟท์จากเชียงใหม่กว่า 2,000 แบบ โดยคิดเป็นมูลค่าได้ประมาณ 20 ล้านบาทเลยทีเดียว
ในปีที่ผ่านมานั้น Etsy ECommerce Platform ชื่อดังที่เจาะกลุ่มงานคราฟท์โดยเฉพาะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 210% คิดเป็นเงินมากถึง 1,725.63 ล้านเหรียญสหรัฐ (56,628 ล้านบาท)
ทำให้เห็นได้ว่าถ้าเราพัฒนาสินค้าคราฟท์ให้มีคุณภาพ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และจำหน่ายในช่องทางที่เหมาะสมอย่างออนไลน์ก็สามารถสร้างมูลค่าได้มากมายเช่นกัน งานคราฟท์ที่ดีในปัจจุบันจึงต้องมีการปรับปรุงพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ และใช้องค์ความรู้ทางด้านอื่นๆมาประกอบเพื่อให้เกิดคุณค่าที่มากขึ้น และเข้ากับยุคสมัย กลุ่มคนใหม่ๆในปัจจุบัน
ตัวอย่างของงานคราฟท์เชียงใหม่โดยคนรุ่นใหม่ “PLAYWORK” ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นผ่านงานศิลปะ การออกแบบ และการผลิตโดยชุมชม เกิดเปิดผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องราวและเอกลักษณ์เฉพาะตัว และโดดเด่นจนได้ขยับขยายโมเดลร่วมกับคนเกาหลีใต้เปิดสาขาที่เกาหลีใต้ “PLAYWORKS x JEJU” เพื่อเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นนั้นๆ ผ่านผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ จะเห็นได้ว่างานคราฟท์นั้นเรื่องราว และความใส่ใจทำให้สร้างมูลค่าทางการตลาดที่มากมาย โดยงานวิจัยของทาง TCDC พบว่าหากมีเรื่องราวของสินค้าที่น่าสนใจจะสร้างคุณค่านั้นมากถึง 54.5%
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.facebook.com/Playworks-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-130389227034705
http://www.chiangmaicrafts.info/
https://readthecloud.co/playworks/
https://readthecloud.co/san-kamphaeng-chiang-mai/
https://www.thansettakij.com/general-news/460051
https://www.wccinternational.org/copy-of-anxi
https://chiangmaifamilyguide.com/…/chiang-mai-crafts…/
https://www.cea.or.th/
http://www.tcdc.or.th/
https://www.sacict.or.th/th/listitem/7175
https://www.statista.com/stat…/409371/etsy-annual-revenue/