พื้นที่สาธารณะที่แท้ทรู

สัปดาห์นี้ เชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ เปิดประเด็น “พื้นที่สาธารณะที่แท้ทรู” พาไปรู้จัก โตโต้ จิรวัฒน์ นาวาจักร์ ผู้ขับเคลื่อนสังคมกลุ่ม Skateboard ในเชียงใหม่และผลักดันให้เกิดพื้นที่สาธารณะของเมืองรูปแบบใหม่ ที่เมืองจะต้องนับรวมเอาคนรุ่นใหม่และกิจกรรม skate board เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิดพื้นที่สาธารณะของเมืองได้แล้ว จากความพยายามหลายปีจนได้เกิดมาเป็น “Chaing Mai Skatepark” ลานสเก็ตบอร์ดสาธารณะของคนเชียงใหม่ พื้นที่ความฝันของคนเชียงใหม่รุ่นใหม่ ที่ต้องการต่อรองและสร้างพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงให้กับกลุ่ม skateboard

จากนิยามพื้นที่สาธารณะของเมืองสมัยใหม่ หมายถึง พื้นที่ที่ทุกคนในเมือง สามารถใช้ประโยชน์อันหลากหลาย โดยปราศจากเงื่อนไขในการเข้าถึง โดยไม่ได้จำเพาะว่าจะต้องเป็นพื้นที่ของรัฐเท่านั้น ในปัจจุบันการสร้างพื้นที่สาธารณะของเอกชน หรือที่เรียกกันว่า “Private Own Public Space” (POPS) ที่เอกชนเองเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น จัดสรรและให้บริการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกับผู้คนต่างๆ เช่นกัน (Yossapon Boonsom, 2020) ความสำคัญของพื้นที่สาธารณะ ในฐานะรองรับวิถีชีวิตและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของคนในเมืองแล้ว ยังต้องสะท้อนกิจกรรมของคนเมืองนั้นๆ ที่ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อให้เกิดความหมาย และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (Sense of belonging) ของเมืองนั้นๆ

ในเชียงใหม่ ปรากฏการณ์การเรียกร้องการใช้พื้นที่สาธารณะของคนรุ่นใหม่ ปรากฏเห็นได้ชัดเจนขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด19 ผู้คนที่ต้องกักตัวและเว้นระยะห่างทางสังคม ได้ออกไปใช้พื้นที่สาธารณะในเมือง รูปแบบใหม่ๆ อาทิ การไปเดินเล่นในอ่างเก็บน้ำในมหาวิทยาลัย และกลุ่มเล่น skateboard และ surf skate กลุ่มใหม่เหล่านี้ สะท้อนกิจกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทำให้สเก็ตพาร์ค หรือลานสเก็ต ปรากฏขึ้นในฐานะการเป็นพื้นที่สาธารณะของเอกชนรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความหมายและรองรับกิจกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในเมือง

ร่วมแสดงความคิดเห็นกับพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ได้ผ่านเฟซบุ๊คเพจ “เชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ” และเว็บไซต์ www.chiangmaiwecare.com นะครับ

พื้นที่สาธารณะ #สเก็ตบอร์ด #คนรุ่นใหม่ #เชียงใหม่ #publicspace #skateboard #newgeneration #ChiangMai