งานคราฟต์เชียงใหม่

งานหัตถกรรมเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ จากชุมชนหัตถกรรมระดับหมู่บ้าน ไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและการส่งออก สินค้าหัตถกรรมเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ จากการวิจัยพฤติกรรมการบริโภคสินค้าหัตถกรรมของคนใสเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จัดทำโดยศูนย์นวัตกรรมการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าสินค้าหัตถกรรมที่ผู้บริโภคในเมืองใช้สูงสุด อันดับ(1) เครื่องจักรสาน (32.4%) อันดับ(2) งานผ้าสิ่งทอ (26.7%) อันดับ (3) เครื่องเงิน (12.9%) และอันดับ (4) งานไม้ (12.5%) ซึ่งในข้อมูลวิจัยนี้มีความน่าสนใจคือ กาดนัด หรือ ตลาดนัดเป็นสถานที่ที่สินค้าหัตถกรรมถูกนำไปขายปลีก และผู้บริโภคในเมืองเลือกที่จะไปซื้อกับทางร้านโดยตรงมากกว่าซื้อผ่านทางออนไลน์

กาดนัด ก่อนสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ตลาดนัดในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จากการสำรวจของเว็บไซต์ cmhy.city พบว่ามีถึง 76 ตลาดนัดต่อ 1 สัปดาห์ โดยกระจายวันและผลัดเปลี่ยนสถานที่ไป โดยพฤติกรรมของผู้ซื้อในจังหวัดเชียงใหม่ยังนิยมการซื้อจากทางร้านโดยตรง ซึ่งมากถึง 80% ของการสำรวจผู้บริโภคในเมือง ในสัดส่วนนั้นมีถึง 39.7% ซื้อจากตลาดนัดอาทิ จริงใจมาร์เก็ต กาดคำเท่ียง เป็นต้น

เมืองหัตถกรรมศิลปะพื้นบ้าน เชียงใหม่เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งเน้นกลุ่มผู้ประกอบการในเมืองเชียงใหม่ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ทำงานหัตถกรรม ต่างจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดิจิทัลดิสรับชัน (Digital disruption) และท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ธุรกิจสินค้าหัตถกรรมจึงจำเป็นจะต้องเข้าไปอยู่ในวงจรของเศรษฐกิจดิจิทัล อีกทั้งต้องเพิ่มมูลค่าจากการถ่ายทอดเรื่องราวของงานหัตถกรรม รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ที่เข้มแข็ง ข้อมูลจากคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า หากโฟกัสที่ GPP 250,000 ล้านบาทของจังหวัดเชียงใหม่ในพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา 7 กลุ่มธุรกิจสำคัญของเมืองนั้น อันดับที่ 2 คือกลุ่มหัตถกรรมผ้าสิ่งทอ เครื่องประดับ ของที่ระลึก ที่มีสัดส่วนรายได้ถึง 20,000 ล้านบาท ซึ่งสินค้าหัตถกรรมจำเป็นจะต้องได้รับการผลักดันสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งในระดับผู้ออกแบบ ชุมชน เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจในระดับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก cmhy.city Creative Economy Agency AccBA Chiang Mai University สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยนะครับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น “งานคราฟต์เมืองเชียงใหม่ ไปไหนต่อดี?” ได้ทางคอมเมนท์ใต้โพสนี้ ขับเคลื่อนเมืองด้วยการแชร์และไลค์เพจเชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ เว็บไซต์ www.chiangmaiwecare.com

craft #folkart #ChiangMai #CreativeCity #CityofCraftsandFolkart #หัตถกรรม #ศิลปะพื้นบ้าน #เชียงใหม่ #เมืองสร้างสรรค์ #เมืองหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน