คนเชียงใหม่ใหม่

เชียงใหม่คือเมืองวัฒนธรรม ที่มีผู้คนที่หลากหลายมาเติมแต่งสีสันและขับเคลื่อนเมืองมาอย่างยาวนาน จากเมืองอารยธรรมล้านนา ดินแดนขนส่งค้าไม้สัก หัวเมืองของภูมิภาคเหนือ เมืองที่ผลักดันเศรษฐกิจและสังคม เมืองมหาวิทยาลัย มาจนถึงเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน กลุ่มคนที่มาพำนักและใช้ชีวิตในเมืองเชียงใหม่ ต่างเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา

คนเชียงใหม่ใหม่ คือ กลุ่มคนที่เราขอใช้เรียกคนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ และได้มีบทบาทขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบใหม่ๆ

คนเชียงใหม่ใหม่เหล่านี้มองเชียงใหม่ว่าเป็นเมืองน่าอยู่แค่ไหน? มองเห็นเสน่ห์เมืองอย่างไร? เชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอขอพาไปรู้จัก 2 คนเชียงใหม่ใหม่ ที่อยู่บนพื้นที่ร่วมสมัยสองฝั่งเมือง นิมมานฯ-ศิริมังฯ และ ช้างม่อย-ราชวงศ์

คุณลิลลี่ Lily Bruns สาวลูกครึ่งอเมริกัน ผู้ดูแลและขับเคลื่อนชุมชนดิจิทัลโนแมด บนพื้นที่ Draper Startup House Chiang Mai สาขาเชียงใหม่ ที่เลือกมาตั้งอยู่ในย่านถนนนิมมานเหมินท์-ศิริมังคลาจารย์ ฝั่งตะวันตกของเมืองเก่า ที่มองเห็นศักยภาพของผู้คนฝั่งเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์คนต่างชาติในเมือง

คุณยูทาโร Takaishi Yutaro หนุ่มญี่ปุ่นที่จบการถ่ายภาพจากปารีส ฝรั่งเศส ผู้ชื่นชอบและทำงานแฟชั่นเพื่อสร้างงานผ้าและหัตถศิลป์ และหลงไหลในผู้คนและกลุ่มคนเมือง โกดังราชวงศ์ × Kodang Rachawong ฝั่งถนนช้างม่อย-ราชวงศ์ ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ความร่วมสมัยของผู้คนเชียงใหม่เก่าและใหม่

จากสถิติการลดจำนวนลงของคนพักอาศัยในเมืองเชียงใหม่หลังจากการสถานการณ์โควิด19 ระหว่างปีพ.ศ. 2563 นี้ทำให้จำนวนคนที่อาศัยอยู่เมืองเชียงใหม่เขตเทศบาลลดลงถึงกว่า 60,000 คน แล้วนิยามของคนเชียงใหม่คืออะไร? “คนเชียงใหม่ใหม่” เป็นประเด็นเพื่อให้เรามองหาคนคุณภาพในเมือง ที่ร่วมกันพัฒนาเมืองเชียงใหม่ร่วมกันในฐานะ active citizen

ร่วมขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ไปด้วย ผ่านการแสดงความคิดเห็นบนเพจ เชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ และ www.chiangmaiwecare.com กันนะครับ #เชียงใหม่ #ผู้คน #พลเมือง #ดิจิทัลโนแมด #หัตถศิลป์ #chiangmai #citizen #people #digitalnomad #artisan #นิมมาน #ศิริมังคลาจารย์ #ช้างม่อย #ราชวงศ์