“ขนส่งมวลชน หรือ ทางเท้าที่ดี อะไรควรมาก่อนกัน?” เมืองเชียงใหม่กับปัญหาการเดินทาง

ภายใต้แนวทางการพัฒนาไปสู่เมืองเดินได้และยุทธศาสตร์ของชาติที่เร่งเร้าให้เชียงใหม่ไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ #ขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ จากสถิติของกรมการขนส่งทางบกพบว่า เชียงใหม่มีผู้ให้บริการรถกระบะส่วนตัวในรูปแบบขนส่งสาธารณะจำนวน 5,921 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.36 ของจำนวนขนส่งสาธารณะทั้งหมด ซึ่งรถสองแถวเหล่านี้มีผลความพอใจในการให้บริการจากการวิจัยของระวิวรรณ แพทย์สมานในปีพ.ศ.2563 ค่อนข้างต่ำ จึงให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการสองแถวด้วยหลัก 3S คือ Smart driver (คุณภาพผู้ขับ) Smart look (มาตรฐานรถ) Smart Information (ข้อมูลแม่นยำ)

ทีมเครือข่ายระบบขนส่งมวลชนอัจฉริยะเชียงใหม่ (Chiang Mai smart mobility alliance network) ได้พัฒนาระบบข้อมูลและเชื่อมต่อข้อมูลการเดินรถขนส่งสาธารณะต่างๆ ลงบนแอปพลิเคชัน Urban transit ซึ่งในขณะนี้ได้เปิดใช้งานแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา

ทางเท้าคุณภาพ การสร้างเมืองเดินได้นั้นองค์ประกอบสำคัญคือทางเท้าที่มีคุณภาพ จากการสำรวจพื้นที่ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) พบว่าบนพื้นที่ 48%ของเมืองเชียงใหม่เหมาะแก่การใช้ชีวิตในรูปแบบการเดินเท้า แต่ถนนและทางเท้าไม่มีประสิทธิภาพและไม่ส่งเสริมต่อการเดิน มักพบป้ายโฆษณา ต้นไม้ และเสาไฟฟ้า กีดขวางทางเดินเท้า ทั้งนี้ ตามมาตรฐานการออกแบบทางเท้าที่ดีนั้นความกว้างของทางเท้าจะต้องกว้างระหว่าง 1.50-2 เมตร โดยไม่มีสิ่งกีดขวางการเดินไปตลอดทาง

เชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ ชวนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อพัฒนาเมืองเชียงใหม่ อะไรควรมาก่อนกันระหว่าง ขนส่งมวลชนที่ดี หรือ ทางเท้าที่ดี? ร่วมแลกเปลี่ยนและเสนอแนะความคิดเห็นมาได้ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก กรมการขนส่งทางบก Smart Mobility Alliance Network UDDC – Urban Design and Development Center Agenda #ขนส่งมวลชน #ทางเท้า #ขนส่งสาธารณะ #บาทวิถี #เมืองเดินได้ #เมืองอัจฉริยะ #ChiangMai #SmartCity #WalkableCity #Publictransportation #Footpath