ใช้ชีวิตสัญจรผ่านไปมาทุกวัน เคยสงสัยบ้างหรือไม่ ทำไมบางพื้นที่ของเมืองจึงรถติดนัก ทำไมบางพื้นที่จึง เฟื่องฟูคึกคักในขณะที่บางส่วนกลับเงียบเหงาและเสื่อมโทรม ทั้งหมดนี้มีปัจจัยหลายประการอยู่เบื้องหลัง หนึ่งในนั้นคือ การวาง ‘ผังเมือง’ นั่นเอง
‘เชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ’ ขอพาทุกท่านบินไปเที่ยวชมการจัดการเมืองของประเทศต่างๆ เผื่อว่าระหว่าง การเดินทาง เราอาจจะได้ไอเดียบางอย่างมาปรับใช้กับเชียงใหม่อันเป็นที่รักของเรา
ขอพาบินข้ามซีกโลกมาประเทศอันกว้างใหญ่อย่างอเมริกา ที่นี่มีการจัดระบบแบ่งเขตโซนนิ่ง (Zoning Ordinance) แยกส่วนที่พักอาศัย การค้า การเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมออกจากกันอย่างชัดเจน (Residential/ Commercial/Agricultural/Industrial) ซึ่งแรกเริ่มเดิมที ระบบนี้ก็ทำให้ส่วนพักอาศัยสงบสุขดี ปลอดจากรถรา มลภาวะทางเสียง และเป็นต้นแบบการสร้างบ้านจัดสรรให้กับหลายประเทศด้วยกัน
ในเวลาต่อมาจึงพบการพลิกผัน เมื่อการแบ่งโซนนิ่งของเมืองให้ที่พักอาศัยห่างไกลจากที่ทำงาน กลับยิ่งทำให้ผู้ คนใช้รถยนต์มากขึ้น ส่งผลต่อค่ามลพิษ พื้นที่การค้ามีการแข่งขันสูงจนเหล่าร้านค้าผู้ประกอบการรายเล็กยืนหยัดได้ ยากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนร้านค้าที่ยังอยู่ได้ก็จำเป็นต้องปรับราคาสินค้าและบริการตามค่าเช่าที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนกระทบถึงผู้ บริโภคในที่สุด
ทุกอย่างยิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาด ผู้คนลดความเสี่ยงจากการเดินทางไปในพื้นที่ร้านค้าหนาแน่น ผู้เช่า เขตการค้าเองก็ทยอยย้ายออกเพื่อลดรายจ่าย จนกลายเป็นพื้นที่ร้างปราศจากผู้คน ฟังดูทำให้นึกถึงย่านการเศรษฐกิจบางส่วนในเชียงใหม่ขึ้นมาอย่างน่าประหลาด
พูดถึงเมืองที่ดี ใครๆก็คงชอบเมืองที่มีทางเท้ากว้างขวาง สัญจรสะดวก ยิ่งมีสวนร่มรื่นกลางเมืองให้เดินเล่นชีวิตคง สุขล้น แม้ว่าเราอาจจะเผลอทดท้อว่าเชียงใหม่มีพื้นที่อยู่เท่านี้ จะเอาทางเท้าและสวนสาธารณะจากไหนมาเพิ่มกัน
กรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นอาจทำให้เรามีความหวังขึ้นมา เพราะผังเมืองโตเกียวในอดีตนั้นก็เคยยุ่งเหยิงไม่น้อย จากภาพซ้าย ที่ดินมีรูปทรงอิสระ บ้างเป็นที่ตาบอด ถนนคับแคบคดเคี้ยว จนกระทั่ง ปีค.ศ. 1919 ในรูปขวา รัฐเริ่มจัด รูปที่ดินใหม่ (Readjustment) ไกล่เกลี่ยให้ทุกฝ่ายสละที่ดินส่วนหนึ่งมาสร้างทางเท้าและถนนให้เชื่อมต่อกันโดย ตลอด ไปจนถึงขยับปรับให้ที่ดินทุกแปลงมีรูปทรงเหลี่ยมง่ายต่อการจัดวางอาคาร บนแนวคิดการใช้พื้นที่แบบผสม ผสาน (Mixed-Land Use) กล่าวคือที่พักอาศัย ร้านค้า สำนักงานอยู่รวมกันขอบเขตเดียว วิธีจัดเมืองแบบนี้ส่งผล คนเดินสัญจรมากขึ้นนั่นเอง (Walkable City)
จากรูปก่อนหลังเสมือนเปลี่ยนแปลงง่ายดาย แต่การให้ผู้คนแบ่งที่ดินตนเองมาทำที่สาธารณะนั้น ต้องผ่านการเจรจา ไกล่เกลี่ยมาอย่างยาวนาน ซึ่งปัจจัยสำคัญหนึ่งที่สนับสนุนให้ญี่ปุ่นทำสิ่งเหล่านี้สำเร็จ คือ ‘การบังคับใช้กฎหมายโดย เท่าเทียม’ จะมียศศักดิ์หรืออำนาจปานใดก็ต้องยอมรับการจัดสรรจากรัฐโดยทั่วกัน แม้ยากลำบากในช่วงเปลี่ยน แปลง แต่เศรษฐกิจจะเติบโตในระยะยาว ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มและผู้อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในท้ายสุด
หากอ่านเรื่องราวของญี่ปุ่นแล้วคิดว่า กาลเวลาเดินมาไกล อาคารสร้างเต็มพื้นที่แล้ว ยากนักที่จะขยับขยาย เช่น นั้นเราพาข้ามมาฝั่งยุโรปบ้าง ณ ประเทศสเปน เมืองบาร์เซโลนาได้ริเริ่มแนวคิดชื่อ Superblock ‘คืนชีวิตชีวาให้ กับถนน’ กล่าวคือ ถนนขนาด 3×3 บล็อคถูกเปลี่ยนเป็นสภาพแวดล้อมให้คนเดินได้!
เอาสิ ไม่แบ่งโซนแบบอเมริกา ไม่เวนคืนแบบโตเกียว แต่ปิดถนนเลย ไม่ได้ปิดเพียงเส้นเดียวเสียด้วย ปิดเป็น บริเวณกว้างเลยทีเดียว แน่นอนว่าโครงการนี้โดนต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนในแรกเริ่ม จนถึงขั้นเกิดสมา พันธ์ผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งคอยล็อบบี้ ประท้วง และโจมตีผ่านสื่อต่างๆ อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ทุก การเปลี่ยนแปลงของเมือง มักต้องผ่านแรงเสียดทานจากประชาชนหลายสิบปีจึงพิสูจน์หลักการได้สำเร็จ โครง การ Superblock ก็เช่นกัน ในปัจจุบันชาวบ้านซึ่งเคยต่อต้านให้สัมภาษณ์ว่า การเห็นลูกๆวิ่งเล่นอยู่กลางถนน อย่างปลอดภัยมันช่างเป็นความรู้สึกที่พิเศษเหลือเกิน
ถนนที่ถูกปิดล้อมนี้ ถูกจัดสรรการใช้งานแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของผู้อาศัย บางส่วนเป็นสนาม เด็กเล่น สนามกีฬา บางส่วนวางโต๊ะเก้าอี้สำหรับปิคนิค และจากที่เห็นในภาพ มีต้นไม้ใหญ่ถูกปลูกเพิ่มจำนว นมหาศาล สร้างความร่มรื่นให้กับเมืองโดยรวม
แม้ว่ารถภายนอกจะไม่สามารถสัญจรเข้ามาในเขต superblock ได้ แต่สำหรับผู้อยู่อาศัยภายในยังคงขับรถ มายังบ้านตนเองได้ตามเดิม เพียงแต่เหลือทางสัญจรเพียงช่องเดียวและจำกัดความเร็วไว้ที่ 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของทุกฝ่ายนั่นเอง
ถึงตอนนี้ ผู้อาศัยใน Superblock ปฏิเสธที่จะไปมีชีวิตติดถนนแบบเดิมอีกต่อไป เพราะร้านค้าในพื้นที่มี เศรษฐกิจดีขึ้น เด็กๆมีที่วิ่งเล่นใกล้บ้าน มลพิษลดลง และผู้คนค้นพบว่าการเดินทำให้ถึงจุดหมายเร็วกว่าและสุ นทรีกว่าใช้รถอย่างเทียบไม่ติดทีเดียว
ย้อนกลับมาที่เชียงใหม่อันเป็นที่รักของเรา
นอกเหนือจากการวางทักษาเมืองเป็นเค้าโครงแล้ว หลังจากนั้นรัฐ ไม่เคยทำการจัดสรรแบ่งแปลงที่ดินอีกเลย (Subdivision) กรมที่ดินเพียงแต่รังวัดและออกเอกสารสิทธิตามที่ มีคนร้องขอเท่านั้น จนเห็นได้ชัดว่าภายในคูเมืองเกิดทางตันหลายจุดด้วยกัน หลายพื้นที่ขาดทางเท้าและมีเส้น ทางคดเคี้ยว (Curvillinear) ซึ่งยากต่อการจัดการระบบสาธารณูปโภค
แต่ด้วยความบังเอิญ เชียงใหม่มีพื้นที่หนึ่งแตกต่างออกมาด้วยการวางผังระบบตาราง (Grid System) ได้แก่ นิมมานเหมินทร์ เหตุว่าแรกเริ่มเดิมที คหบดีเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ใช้ระบบเดียวกับบ้านจัดสรรเพื่อแบ่งขายให้ กับรายย่อยจนกลายเป็นนิมมานเหมินทร์ซอยต่างๆที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ซึ่งระบบตารางที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่นิ ยมใช้ในผังเมืองทั่วโลก เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการอยู่อาศัยและสัญจร ถนนทุกเส้นมีขนาดใกล้เคียงและ เชื่อมถึงกัน ผู้สัญจรจึงมีหลายทางเลือกในการเดินทางจากจุด A ไปยังจุด B ลดการคับคั่งของจราจร รวมถึงมี ตึกหัวมุมจำนวนมากอันส่งเสริมการตั้งร้านค้า
เมื่อผนวกกับการหยุดชะงักของแผนพัฒนาถนนวงแหวนรอบใน จากถนนซูเปอร์ไฮเวย์เข้ามายังถนนนิมมาน เหมินทร์จึงเป็นเสมือนคอขวด การจราจรกระจุกตัว ผู้คนขับขี่ช้าลง ส่งผลให้คนเดินสัญจรบนทางเท้ามากขึ้น ร้านค้าจึงเพิ่มพูนตามมา ความบังเอิญซ้ำซ้อนเหล่านี้ทำให้พื้นที่นี้กลายสภาพเป็นย่านการค้าโดยปริยายอย่างไรก็ตามเมืองไม่อาจเติบโตอย่างยั่งยืนได้จากความบังเอิญ ระหว่างที่เมืองถูกแช่แข็งจากภาวะวิกฤติโรค ระบาด นี่อาจเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราจะทบทวนรูปแบบการพัฒนาของเมือง เพื่อดึงดูดจิตวิญญาณพื้นถิ่นให้ หวนกลับมาเติมเต็มเชียงใหม่ให้เต็มไปด้วยเสน่ห์อีกครั้ง
คิดอย่างไรกับ ผังเมืองเชียงใหม่ ร่วมพูดคุยกัน
__________________
Reference
https://www.urban.org/debates/land-use-regulation-whats-it-worth-anyway https://www.centreforcities.org/blog/planning-reform-how-does-zoning-work-in-other-countries/ https://marketurbanism.com/2019/03/19/why-is-japanese-zoning-more-liberal-than-us-zoning/ https://lawshelf.com/videocoursesmoduleview/zones-zoning-rules-and-exemptions-module-3-of-5/
http://www.urbanwhy.com/2016/12/26/land-readjustment/
https://www2.ashitech.ac.jp/civil/yanase/lr-system/Replottind%20Disposition%20&%20Registration.pd
http://www.bcnecologia.net/en https://upeandthecity.wordpress.com/2020/02/10/superblocks-in-barcelona-a-visionary-step-towards-car-free-cities/ https://www.vox.com/energy-and-environment/2019/4/9/18273894/barcelona-urban-planning-superblocks-poblenou http://pracob.blogspot.com/2017/01/superblocks.html